วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยชอย่างไร







ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรร ช่วยให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน ช่วยให้ชีวิตมีความสุข ช่วยให้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

โลกร้อน


ช่วยกันหน่อยชาวโลก

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ








พระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" แสดงถึงประติมากรรมไทยสมัยใด
ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย
เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณ พ.ศ. 1800-1918 เมืองสำคัญทางศิลปะของสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโข ทัยเก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบ สมัยลพบุรีคือ พุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาใน สมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างศิลปะประติมากรรม มี ปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืดผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด ยางไม้ และน้ำอ้อย นำมาโขลกให้เหนียวแล้วนำมาปั้น เมื่ อแห้งจะแข็ งและทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 4 ยุค คือ
สุโขทัยยุคที่ 1 ประติมากรรมในยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะ ลพบุรีที่เห็นได้ชัด คือ ภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย ลายปูนปั้นประดับเสาไต้หรือเสาประทีป การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มี แบบเฉพาะเป็นของต นเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตะกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน มีพระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน
สุโขทัยยุคที่ 2 ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจน ก่อรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง นับเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มาก มายตั้งแต่พระพุท ธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏฐารสพระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนูนต่ำนูนสูงประดับภายในซุ้มมณฑปหรือพระเจดีย์เป็นจำนวนเช่นกันสมดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มี พระอัฏฐารส มีพร ะพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" พระพุทธรูปสุโขทัยไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธ รูปขนาดใดก็ตามจะปั้นด้วยปูนหรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่าง ๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์ รูปไข่ พระขนงโก่ง พร ะนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอและพระอังสาหมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พ ระอังสาใหญ่กว้าง พระถันโปน ปั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพร ะหัตถ์และนิ้วพระบาททำแบบธรรมชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย องค์ที่มีชื่อเสียงอยู่ใ นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และปางลีลา องค์พระพุทธรูปปางลีลาที่งดงาม ปัจจุบันประดิษฐานที่ระเบียงคดวัดเบญจมบพิตร
สุโขทัยยุคที่ 3 การปั้นพระพุทธรูปในยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต ดูเสมือนมีระเบียบและกฎเกณฑ์ มากขึ้นพระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่ อ นไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาวนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้นพระบาทยาว พระพุทธรูปที่สำคัญ ๆ ใน ยุคนี้คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น
สุโขทัยยุคที่ 4 เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปะอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุด ลงใน พ.ศ. 1981 นับเป็นสุโขทัยยุคเสื่อม แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็ก ๆ พระพุทธรูปมีความกระด้างขึ้น ทั้งท่าท าง ทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้ เช่น พระอัฏฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

ลวดลายปูนปั้นประดับเสาไต้หรือเสาประทีป หน้าพระระเบียงพระมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัย

พระอัฏฐารส วัดสะพานหิน จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm


"พุทธประวัติ" ภาพปูนปั้นประดับหน้าบันซุ้มปรางค์ทิศ วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยศิลปะสมัยสุโขทัย
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm


พระศรีศากยมุนี พระประธานพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยศิลปะสมัยสุโขทัย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm





"พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์" ภาพปูนปั้นในซุ้มด้านทิศใต้พระมณฑปวัดตรพังทองหลาง จังหวัดสุโขทัยศิลปะสมัยสุโขทัย
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ขนาดเท่าองค์จริง รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก ด้วยโลหะลงรักปิดทอง

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์คืออะไร


คือ ศาสตร์แห่งความสุนทรีย์ หรือ วิชาที่ว่าด้วยความงามทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สรรสร้างขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ในวิชาชีพพยาบาลอย่างไร


ช่วยให้วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มองโลกในแง่ดี อ่อนโยน